onestopservice.ditp.go.th

คำถามที่พบบ่อย

ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ

 
ประกอบด้วยขั้นตอนโดยย่อ ดังนี้
  • การจดทะเบียนพาณิชย์
  • การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  • เสนอขายและรับการสั่งซื้อ
  • การเตรียมสินค้า
  • ติดต่อขนส่ง
  • จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก
  • ติดต่อผ่านพิธีการศุลกากร
  • การส่งมอบสินค้า
  • การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
  • ขอรับสิทธิประโยชน์
(อ้างอิงจากเวปไซด์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ)

- การออกใบรับรอง ของหน่วยงานที่อยู่ภายในศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย

- การให้คำปรึกษา ของหน่วยงานที่อยู่ภายในศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ ได้แก่ กรมการต่างประเทศ กรมเจรจาการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมศุลกากร กรมการกงสุล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

วัตถุดิบในประเทศ ต้องเป็นวัตถุดิบที่ผลิตจากโรงงานในประเทศและผลิตถูกต้องตามถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศ ที่จะขอใช้สิทธิ แต่ถ้าไม่สามารถหาแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ ก็ให้ระบุเป็นวัตถุดิบนำเข้า

ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 สินค้ามาตรฐานที่ได้กำหนดมาตรฐานสินค้าส่งออกในปัจจุบัน มี 11 ชนิดได้แก่

  1. ข้าวโพด 
  2. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง  
  3. ข้าวหอมมะลิไทย
  4. ข้าวขาว
  5. ข้าวฟ่าง
  6. แป้งมันสำปะหลัง
  7. ปลาป่น
  8. ไม้สักแปรรูป
  9. ปุยนุ่น
  10. ถั่วเขียว
  11. ถั่วเขียวผิวดำ 

ในการยื่นขอตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) จะต้องยื่นขอรับรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน (User Name / Password)  ก่อน จึงจะสามารถบันทึกข้อมูลต้นทุนการผลิตสินค้าและส่งข้อมูลผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) ได้   โดยมีขั้นตอนในการขอรับรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน  ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศที่  www.dft.go.th
  2. คลิกไอคอน (แบนเนอร์) ที่ “บริการอิเล็กทรอนิกส์”       
  3. คลิกภาพสี่เหลี่ยม (แบนเนอร์)   ที่ “ตรวจถิ่นกำเนิดสินค้า       
  4. เมื่อปรากฏหน้าจอ  “ There is a problem with this website’s security certificate” ให้คลิก “Continue to this website (not  recommended)
  5. คลิกที่แท็บ  “ลงทะเบียนใหม่”
  6. บันทึกข้อมูลลงทะเบียนลงในระบบและพิมพ์ข้อมูลจากระบบ  โดยจะต้องลงนามในเอกสารแบบคำขอลงทะเบียนและคำรับรองฯ
  7. นำเอกสารแบบคำขอลงทะเบียนและคำรับรองฯ พร้อมเอกสารประกอบมายื่นที่กองตรวจสอบและรับรองถิ่นกำเนิด ชั้น 5 กรมการค้าต่างประเทศ  หรือสำนักงานการค้าต่างประเทศเขต 1-10 (เชียงใหม่ หาดใหญ่  ชลบุรี   สระแก้ว   หนองคาย   เชียงราย   ศรีสะเกษ  ตาก  มุกดาหาร  กาญจนบุรี)
  8. เอกสารที่ต้องนำมายื่นขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน  ได้แก่
    • แบบคำขอลงทะเบียนเป็นผู้ขอสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร
    • คำรับรองของผู้ใช้ระบบบริการตรวจรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าผ่านระบบ Internet และ XML กับกรมการค้าต่างประเทศ
    • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (อายุไม่เกิน 6 เดือน) 
    • สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20)
    • หนังสือมอบอำนาจให้ยื่นและรับรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านพร้อมสำเนาบัตรประชาชน/ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว/ หนังสือเดินทาง/ หนังสืออนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  9. หมายเหตุ สำเนาทุกฉบับต้องรับรองความถูกต้องของเอกสารด้วย

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องใช้เอกสารหลักฐานดังนี้

1. ต้นฉบับคำขอจดทะเบียน (แบบ ก. 01)

2. ภาพเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน ขนาดไม่เกิน 5 X 5 เซนติเมตร จำนวน 1 รูป กรณีภาพเครื่องหมายเกินขนาดที่กำหนดต้องชำระ ค่าธรรมเนียมเพิ่มในส่วนที่เกิน เซนติเมตรละ 200 บาท

3. บัตรประจำตัวของเจ้าของเครื่องหมาย

          3.1 กรณีบุคคลธรรมดา ให้ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆที่ทางราชการออกให้ หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ

          3.2 กรณีนิติบุคคล ให้ใช้สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วน จำนวน 1 ฉบับ (เว้นแต่นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้ส่งเอกสารตาม ข้อ 3.3 โดยมีการระบุข้อความรับรองการเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศไว้แล้ว)

          3.3 กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนเจ้าของ

                    3.3.1 กรณีการตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจได้กระทำในประเทศไทย ให้แนบเอกสาร ดังนี้

                              (1) สำเนาหนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจ (แบบ ก. 18) โดยติดอากรแสตมป์ 30 บาทต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน (พร้อมขีดฆ่าอากรฯ)

                              (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ หรือสำเนาหนังสือรับรองนิติ บุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนของตัวแทนที่รับรองสำเนาถูกต้อง แล้วแต่กรณี

                              (3) หากผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ให้แนบสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาหนังสือรับรอง ถิ่นที่อยู่ชั่วคราว หรือหลักฐานอื่นที่แสดงให้เห็นว่าในขณะตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจ ผู้นั้นได้เข้ามาในประเทศไทยจริง

                    3.3.2 กรณีการตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจได้กระทำในต่างประเทศ ให้แนบเอกสารดังนี้

                              (1) สำเนาหนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจที่มีคำรับรองลายมือชื่อ โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมีถิ่น ที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือมีคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้น ให้มี อำนาจรับรองลายมือชื่อ โดยติดอากรแสตมป์ 30 บาทต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน (พร้อมขีดฆ่าอากรฯ)

                              (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ หรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนของตัวแทนที่รับรองสำเนาถูกต้อง แล้วแต่กรณี

การยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สามารถกระทำได้ 5 ช่องทาง ดังนี้
  1. ยื่นคำขอด้วยตนเอง ต่อนายทะเบียน ณ กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
  2. ยื่นคำขอด้วยตนเอง ณ. สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทุกจังหวัด
  3. ยื่นคำขอโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถึงนายทะเบียน สำนักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่อยู่ 563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 พร้อมแนบเอกสารประกอบคำขอ และชำระค่าธรรมเนียมทางธนาณัติ (สั่งจ่ายนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า)
  4. ยื่นคำขอทางอินเตอร์เน็ตกรมทรัพย์สินทางปัญญา (www.ipthailand.go.th) โดยไม่ต้องจัดส่งต้นฉบับมาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  5. ยื่นผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (สนามบินน้ำ) ชั้น 4 ทั้งนี้ต้องยื่นพร้อมกับการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในคราวเดียวกัน

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีค่าธรรมเนียมดังนี้

- ค่าธรรมเนียมการยื่นขอจดทะเบียนสินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 1,000 บาท 
  สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 9,000 บาท

- ค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนสินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 600 บาท 
  สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 5,400 บาท

- ค่าธรรมเนียมการต่ออายุการจดทะเบียนสินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 2,000 บาท 
  สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 18,000 บาท

 

การสืบค้นเครื่องหมายการค้า/บริการ ผู้ขอสามารถมาสืบค้นได้ 2 ทาง คือ
       1. สืบค้นด้วยตนเองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 3 ซึ่งทางกรมจะมีเจ้าหน้าที่แนะนำวิธีการสืบค้น ซึ่งผู้ขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียม
       ในการตรวจค้นชั่วโมงละ 200 บาท
       2. สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้ขอจะต้องเข้าเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย
       โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
             2.1 เลือกบริการออนไลน์ เมนูระบบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (e-Filing)
             2.2 เลือก ตรวจสอบความเหมือนคล้ายของเครื่องหมาย
หมายเหตุ การตรวจค้นเครื่องหมายตาม 1. และ 2. ดังกล่าว เป็นเพียงการตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งเครื่องหมายการค้าใดจะได้รับการจดทะเบียนหรือไม่ นายทะเบียนจะต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและรายละเอียดของเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว โดยการพิจารณาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า

สัญลักษณ์ ® ย่อมาจากคำว่า Registered หมายถึง การจดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนแล้ว เมื่อนำมาใช้กับเครื่องหมายการค้า แสดงได้ว่าเครื่องหมายนั้นได้รับการจดทะเบียนแล้ว
     คำว่า TM. ย่อมาจากคำว่า Trademark แปลว่า เครื่องหมายการค้า เมื่อนำไปใช้กับเครื่องหมาย หรือภาพ หรือคำใดแล้ว เป็นเพียงตัวอักษรที่แสดงให้เห็นว่า เครื่องหมาย หรือภาพ หรือคำดังกล่าวนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของตน ดังนั้น คำว่า TM. จึงสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน