onestopservice.ditp.go.th

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

บทสรุปผู้บริหาร “อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ”เป็นการน าอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่ติดตั้งระบบสมองกลฝัง ตัว เพื่อให้มีคุณสมบัติใหม่ และสามารถสื่อสารระหว่างกันอย่างอิสระผ่านอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things: IoT) เช่น ระบบการจราจรอัจฉริยะ ระบบควบคุมพลังงานในอาคารแบบฉลาด ระบบเซนเซอร์ ไบโอเซนเซอร์ กระบวนการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์อัจฉริยะ ขึ้นอยู่ กับว่าจะน าไปประยุกต์ใช้กับอะไร ส าหรับการใช้อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในไทย แยกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มการสื่อสารและโฆษณา 2. กลุ่มอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ เช่น ระบบการแพทย์ทางไกลอาจจะเริ่มต้น จากการให้ค าปรึกษาเบื้องต้น เปิดโอกาสให้แพทย์กับผู้ป่วยสามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น และกลุ่มที่ 3 อุตสาหกรรมค้าปลีกที่น าระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะไปใช้ในการแนะน าสินค้าหรือบริการแก่ผู้บริโภค เป็น การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่ แล้ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิต โดยการลงทุนชนิดนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในระยะสั้น และระยะกลางในลักษณะการต่อยอด อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ถูกระบุเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรม (FirstS-curve) ซึ่งการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ซึ่งเป็นการลงทุน ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิต การนิยามและแบ่งอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะครั้งนี้เป็นการก าหนดจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีอยู่เดิมใน ISIC REV. 4 หมวด Cการผลิต ซึ่งมีรหัส C260000 คือ การผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ใช้ ในทางทัศนศาสตร์ แนวโน้มของสภาวะอุตสาหกรรมระดับโลกในปี 2560 พบว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี ความส าคัญต่อโลกค่อนข้างมาก ทั้งในด้านของประโยชน์การใช้งานที่หลากหลาย และความสามารถในการ ส่งต่อข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นฐานการพัฒนาของอุตสาหกรรมอื่น เพราะเป็น อุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ค่อนข้างมาก ด้วยแนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตจากกระแสโลกาภิวัตน์ ท าให้การด าเนินชีวิตความต้องการของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงไป ล้วนส่งผล ให้อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย โดยมีแนวโน้มในการเติบโตตาม ผลิตภัณฑ์หลักๆ ของอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคมโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Consumer Electronics) อิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ผู้ที่จะมีบทบาทในการก าหนดทิศทางการพัฒนาของเทคโนโลยีจะมาจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ เพราะเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวน าที่ส าคัญ ส าหรับแนวโน้มของผลิตภัณฑ์ในอนาคต จะต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตได้ และสอดคล้องกับลักษณะการด าเนิน ชีวิตประจ าวัน ท าให้ผลิตภัณฑ์ในอนาคต จะต้องสามารถท างานได้ในหลากหลายการใช้งาน มีความยืดหยุ่น รายงานฉบับสมบูรณ์การวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข ในการใช้งาน และต้องพกพาได้สะดวก ท าให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีขนาดที่เล็กลง และน้ าหนักเบา รวมทั้งมีประสิทธิภาพการท างานที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาสินค้าที่จะสามารถตอบสนองต่อความ ต้องการใช้พลังงานที่น้อยลง โดยพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถควบคุมกระบวนการท างานของ อุปกรณ์อื่นๆ และน าไปสู่การลดปริมาณการใช้พลังงานในกระบวนการนั้นลง เช่น พัฒนาเซนเซอร์ เพื่อ ควบคุมให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดในบ้านและที่ท างาน การใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วย บริหารจัดการการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสอดรับกับภาวะการขาดแคลนพลังงานที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต แนวโน้มของสภาวะอุตสาหกรรมระดับประเทศ พบว่า เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยการลงทุนสูง และใช้เทคโนโลยีระดับสูง อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงเป็นการร่วมลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยกับต่างชาติ และไทยจะมีบทบาทในการเป็นผู้รับจ้างผลิต โดยจุดแข็งของประเทศจะอยู่ที่ความสามารถในการผลิตสินค้า ที่มีขนาดเล็ก และแม่นย าสูง เป็นผู้น าของอาเซียนและอันดับต้นของเอเชียเป็นผู้น าด้านผลิต และส่งออก ผลิตภัณฑ์หน่วยเก็บ (Hard Disk Drive) และ Engineering Management Services (EMS) และสร้าง คุณค่า (ValueCreation) ให้แก่อุตสาหกรรม เพื่อน าไปสู่อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (NewWave Products) ในอนาคตส าหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันได้อย่าง ยั่งยืน โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะเน้นการพัฒนาไปสู่ กระบวนการผลิตชิ้นงานที่มีความเล็กลง และความแม่นย าพิเศษที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง (Precision Manufacturing) ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทย และเป็นที่เชื่อถือส าหรับการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ ระดับโลก นับเป็นโอกาสที่ไทยต้องอาศัยความมีศักยภาพในจุดนี้ในการพัฒนาต่อไป เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็น ผู้น าอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาโครงสร้างสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นศูนย์กลาง การออกแบบ และการทดสอบที่ครบวงจรของภูมิภาคในการรองรับการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ผลการวิเคราะห์ ศักยภาพของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ พบว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อ เทียบกับปีก่อน จากการฟื้นตัวของตลาดในประเทศ และการส่งออกตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เนื่องจาก วงจรรวม (Integrated Circuit: IC) เป็นชิ้นส่วนส าคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ซึ่งตลาด หลักในการส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มที่จะย้ายจากสหรัฐอเมริกา และยุโรป มาที่เอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะจีน อินเดีย อาเซียน และตะวันออกกลาง ศักยภาพของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะมี อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย อุปกรณ์แผงวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าอุตสาหกรรมอื่นๆ อุตสาหกรรมที่สนับสนุนได้แก่ รายงานฉบับสมบูรณ์การวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติก อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ยังมีความสามารถในการ แข่งขันพอสมควร ซึ่งผลิตภัณฑ์วงจรรวม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกในล าดับต้นๆ ของไทย มี แนวโน้มในการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศคู่แข่งที่ส าคัญ เช่น จีน เกาหลีใต้ไต้หวัน เป็นต้น ผู้ส่งออกของไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้ง ในด้านการเปิดการค้าเสรี และการรวมกลุ่มทางการค้า รวมทั้งการปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ และ กติกาการค้าโลก ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นจ านวน มาก ประกอบด้วยบริษัทที่ผู้ประกอบการไทยร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และบริษัทของ คนไทย ซึ่งปริมาณการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในบ้านมีจ านวนมากเกินกว่าปริมาณการจ าหน่าย ผลิตภัณฑ์ของตลาดภายในประเทศค่อนข้างมาก ท าให้การแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะการแข่งขัน ด้านราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ ดังนั้นผู้ผลิตสินค้าซึ่งเดิมผลิตเพื่อทดแทนการน าเข้า และ เน้นการจ าหน่ายในประเทศ ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยขยายตลาดเพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์ มากขึ้น บทบาทของรัฐบาลที่มีต่ออุตสาหกรรม รัฐบาลไทยให้ความส าคัญต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อัจฉริยะ เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งจะมีบทบาทส าคัญในการ ผลักดันเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ทั้งนี้มีมาตรการก าหนดมาตรการทางด้านภาษี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศจะช่วยปกป้อง และยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศให้มีขีดความสามารถ ในการแข่งขันได้อย่างสอดคล้องกับกฎกติกาทางการค้าของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภาครัฐบาล พยายามที่ผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เพื่อพัฒนา ศักยภาพการผลิตให้สูงขึ้น โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตจากเดิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมประกอบ หรือการรับจ้างผลิต (OEM) ไปสู่การผลิตของโรงงานที่มีรูปแบบการพัฒนาดีไซน์ รูปแบบสินค้าได้เอง (ODM) และในท้ายที่สุด มุ่งพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการผลิตที่มีการสร้างแบรนด์ของตัวเอง (OBM) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคการผลิตในประเทศมากขึ้น ปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่เป็นโอกาสของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ พบว่าหากประเทศไทย มีการปรับตัว และสามารถสร้างพัฒนาการได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ก็อาจ เป็นโอกาสในการเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคตได้ในที่สุด มี ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการใช้อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมอื่นมากขึ้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์/อุปกรณ์ทางการแพทย์/การเกษตร มีโอกาสในการขยายการผลิต และการค้า ในลักษณะเป็น Strategic alliance ร่วมกับประเทศในอาเซียน รายงานฉบับสมบูรณ์การวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ง การวิเคราะห์ทรัพย์สินทางปัญญาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การเลือกวิเคราะห์ เทคโนโลยีที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ จึงควรมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนา เซนเซอร์ (Sensor) ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Microelectronic) สมองกล (Artificial Intelligence) อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) ดังนั้นปัจจัยที่ใช้ในการ ประกอบการพิจารณาการเลือกเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะนั้น จะประกอบไปด้วย 1. ความเชื่อมโยงระหว่างการแบ่งอุตสาหกรรม และประเภทผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 2. ปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ที่ประเทศมีศักยภาพ ควบคู่กับปัจจัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีพิเศษเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เพื่อลดการน าเข้าจากต่างประเทศ 3. การเป็นปัจจัย การผลิต หรือปัจจัยสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมอื่นๆ ผลที่ได้จาก การสืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตร พบว่า จ านวนค าขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง มีจ านวนถึง 635,846 ฉบับ โดย ประเทศที่มีจ านวนผู้ขอรับสิทธิบัตรที่ถือสัญชาติไทย รองลงมา คือ สัญชาติอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เป็นการ สะท้อนในภาพรวมว่าที่ผ่านมาคนไทยให้ความส าคัญในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในอุตสาหกรรมนี้ น้อยกว่าชาวต่างชาติ เมื่อพิจารณาในส่วนของผู้ขอรับสิทธิบัตรต่างชาติพบว่า บริษัทที่จ านวนค าขอรับ สิทธิบัตรสูงสุด ได้แก่ Avantor Performance Materials, Inc (ประเทศอเมริกา) รองลงมา ได้แก่ Intel Corporation (ประเทศอเมริกา) Huawei Technologies, Co. Ltd. (ประเทศจีน) Tencent Technology (Shenzhen) Company Limited (ประเทศจีน) Aisin Seiki Kabushiki Kaisha (ประเทศญี่ปุ่น) ตามล าดับ พบว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรที่มีจ านวนค าขอรับสิทธิบัตรสะสมมากที่สุด คือ บริษัท SAMSUNG ELECTRONICS ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ ที่เป็นผู้ผลิตหลักในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ ส าคัญ คือ SMART PHONE เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ได้แก่ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมี ทรัพยากรจ ากัดกว่ากลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ น่าจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถผลิตและเข้าตลาดได้เร็ว (Fast time to market) ซึ่งได้แก่ การต่อยอดเทคโนโลยีเดิม (Incrementalism) ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นในแง่ ของประสิทธิภาพ ความแม่นย า ความยืดหยุ่น ความทนทานและการประหยัดพลังงาน ในกลุ่มที่มีตลาด ขนาดใหญ่ อย่างเช่น ผู้ใช้สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร พลังงาน และอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดีในระยะยาว ผู้ประกอบการพึงต้องร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่เพื่อสร้างขีดความสามารถในระยะ ยาวและป้องกันตนเองจากการสะดุด (Disruption) จากเทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging Technologies) รายงานฉบับสมบูรณ์การวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ ทิศทางการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ของประเทศไทยควรส่งเสริมการ วิจัยและพัฒนาที่เป็นเทคโนโลยีในอนาคต ได้แก่ ระบบสมองกลหรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) https://www.ipthailand.go.th/th/




วันที่ประกาศข่าว : 26 ม.ค. 2564 5659